คำอธิบาย : 1. การจัดให้มีฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) ในช่องทางที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมตรวจสอบ การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทุกขั้นตอน อาทิแผนพัฒนาท้องถิ่น งบประมาณรายจ่าย ประจำปี/รายการการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีแผนการดำเนินงาน รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รายงานการประชุมสภา ประกาศเชิญชวนทั่วไป สอบราคา ประกวดราคา ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาซื้อขาย และสัญญาจ้าง ผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง แผนอัตรากำลัง 3 ปี แผนอัตรากำลังพนักงานจ้าง 4 ปี รายชื่อผู้เข้ารับ การฝึกอบรมในหลักสูตรหรือการฝึกอบรมที่หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ผลการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส (ITA) ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA)
รายงานผลการตรวจสอบอาคาร ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ คู่มือสำหรับประชาชน รายชื่อประชาชนที่ได้รับ ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 หรือรายงานการเงินประจำปีรวมทั้งเอกสาร ข้อมูล และผลการปฏิบัติราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบของประชาชน ทั้งนี้ ให้นับฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) เป็นรายการ เช่น รายงานการประชุม สภาท้องถิ่น 3 ฉบับ ให้นับเป็นหนึ่งรายการ เป็นต้น 2. ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) หมายถึง ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ได้โดยใครก็ตาม โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ 2.1 Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมดและกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มากไปกว่า การทำสำเนา สำหรับการเผยแพร่จะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถแก้ไขได้ สามารถดาวน์โหลดฟรี ผ่านอินเตอร์เน็ต 2.2 Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่ และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ 2.3 Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติด เรื่องข้อจำกัดใด ๆ