" โนนคูณยุคใหม่ ก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปได้ไกล "

 

 

คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนคูณ

ที่  492/๒๕๖7

เรื่อง  การแบ่งงานและการมอบหมายหน้าที่ภายในกองคลัง

-------------------------------------

          อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.๒๕62 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดศรีสะเกษ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับ      การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลโนนคูณ สอดคล้องกับความเป็นจริง และสภาวการณ์เป็นปัจจุบัน     บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน  มีความคล่องตัว  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุด   แก่ท้องถิ่น จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและมอบหมายงานให้พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างทุกคนภายในกองคลัง ดังนี้ 

          กองคลัง

มีโครงสร้างตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) ดังนี้

1.  งานบริหารงานทั่วไป

  • งานบริหารงานทั่วไป
  • งานธุรการ

 2.   งานการเงินและบัญชี                                

  • งานการเงินและบัญชี
  • งานรับเงินเบิกจ่ายเงิน
  • งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน

  -    งานเก็บรักษาเงิน

  • งานทะเบียนการคุมเบิกจ่ายเงิน
  • งานงบการเงินและงบทดลอง

-    งานแสดงฐานะทางการเงิน

  ๓.  งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

  -   งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า

  -   งานพัฒนารายได้

  -   งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ

  -   งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้

  -   งานแผนที่ภาษี

  4.  งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

   -  งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

   -  งานจัดหาพัสดุ

   -  งานบริหารสัญญา

   -  งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์

          ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการบรรจุแต่งตั้ง/โอน(ย้าย) พนักงานส่วนตำบล ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองคลัง (นักบริหารงานการคลัง  ระดับต้น) เลขที่ตำแหน่ง  (55-3-04-2102-001)  มอบหมายให้ นายทองธนา  ซื่อสัตย์  ตำแหน่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น)  เป็นผู้รักษาราชการแทน  ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผนบริหารจัดการ อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยากและคุณภาพของงานค่อนข้างสูงมากโดยปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามากพอสมควร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้ 
          ๑.ด้านแผนงาน 
          ๑.๑ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และเป้าหมายแนวทางด้านการคลัง เพื่อวางแผนและจัดแผนงานโครงการในการพัฒนาหน่วยงาน

          ๑.๒ ร่วมวางแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์            ของหน่วยงานด้านงานการคลัง งานการเงินและบัญชี งานงบประมาณ งานการจัดเก็บรายได้และงานการพัสดุ หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง        มีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์

          ๑.๓ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผน             การปฏิบัติงานตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์   ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้

          ๑.๔ ร่วมวางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์รวบรวมข้อมูลสถิติด้านการเงินการคลังและงบประมาณ รวมทั้งเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือระบบงาน เพื่อให้มีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนสำคัญให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนด

          ๑.๕ ร่วมวางแผนในการจัดทำแผนที่ภาษี จัดทำพัสดุ การเบิกจ่ายเงินประจำไตรมาส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ ให้มีพัสดุเพียงพอต่อการใช้งานและการจ่ายเงินเป็นไปตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๑.๖ ร่วมวางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือ ระบบงาน   ของหน่วยงานที่สังกัด เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัด ทางด้านงบประมาณ บุคลากรและเวลา

๑.๗ วางแผนการใช้จ่ายเงินสะสม และการจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อไม่ให้กระทบกับสถานะทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงตรวจสอบการดำเนินการใช้จ่ายเงินงบกลาง เงินอุดหนุนอุดหนุน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและหนังสือสั่งการ

๒. ด้านบริหารงาน

๒.๑ จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการ     ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ

๒.๒ มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง     กับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้

๒.๓ พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด

๒.๔ จัดระบบการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนวิเคราะห์ผลดีผลกระทบ ปัญหา อุปสรรคเพื่อให้การสนับสนุนหรือทำการปรับปรุงแก้ไข

๒.๕ ร่วมกำหนดรายจ่ายของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการประหยัดและคล่องตัวในการปฏิบัติโดยทั่วไป      ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.6 ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ วิเคราะห์ ทำความเห็นและ ตรวจสอบงานการคลังหลายด้านเช่น งานการคลัง งานการเงินและบัญชี งานการจัดเก็บรายได้ งานรวบรวม ข้อมูลสถิติและวิเคราะห์งบประมาณ งานพัสดุ งานจัดการเงินกู้ งานรับรองสิทธิ งานเบิกเงินงบประมาณ งาน ควบคุมการเบิกจ่าย     งานการเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีค่ำและหลักฐานแทนตัวเงินเป็นต้น เพื่อควบคุมการ ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องและเป็นไปตามกฎระเบียบสูงสุด

๒.๗ ควบคุมดูแล ตรวจสอบและจัดทำรายงานการเงินการบัญชีต่างๆ รายงานการ ปฏิบัติงาน รายงานประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ หรือรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทาง ที่กำหนดไว้          อย่างตรงเวลา

๒.๘ ควบคุมดูแลการดำเนินการให้มีการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๒.๙ ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์ การจัดซื้อและการจัดจ้างเพื่อให้การ ดำเนินการเป็นไป    อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและมีประสิทธิภาพสูงสุด

๒.๑๐ ควบคุมและตรวจจ่ายเงินตามฎีกา หรือควบคุมการขอเบิกเงิน การนำส่งเงิน และ การนำส่งเงินไปสำรองจ่าย เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบอย่างถูกต้องและเหมาะสมมีประสิทธิภาพสูงสุด

๒.๑๑ วิเคราะห์ และเสนอข้อมูลทางด้านการคลัง การเงิน การบัญชีและ การงบประมาณเพื่อนำไปประกอบกำพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหากรปฏิบัติงำนขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น

๒.๑๒ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

๒.๑๓ ตอบปัญหา ชี้แจงและดำเนินการเป็นกรรมการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เช่น เป็นกรรมการรักษาเงิน เป็นกรรมการตรวจการจ้างเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อควบคุมให้ ภารกิจดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๓. ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล

๓.๑ จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ ปริมาณงานและงบประมาณเพื่อให้ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่ำ

๓.๒ ติดตามและประเมินผลงำนของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้อง      กับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้

๓.๓ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ

๓.๔ จัดรูปแบบและวางแนวทางการปฏิบัติราชกาของบุคลากรในหน่วยงานให้มีความ เหมาะสมและ       มีความยืดหยุ่นต่อการปฏิบัติงาน โดยกำหนดหรือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะงาน สอดคล้องหรือเกื้อกูลกัน สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ทุกตำแหน่ง เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัว และ              มีความต่อเนื่อง

๓.๕ สอนงาน พัฒนาการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่กำกับให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ หน่วยงานอย่างยั่งยืน

๔. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ

๔.๑ กำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้อง   กับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๔.๒ ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้

๔.๓ ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณ การเงิน การคลัง และวัสดุ ครุภัณฑ์ เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

          ๔.๔ ร่วมหรือวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบ           ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรร       มาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน

๔.๕ ร่วมหรือบริหารและกำหนดแนวทางการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร หรืองบประมาณตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

                   ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังมีหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาร่างอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยหน่วยงานที่รับผิดชอบ แบ่งส่วนราชการภายในส่วนการคลัง ออกเป็น 4 งาน ดังนี้

          1 .งานบริหารงานทั่วไป          

          1.1 .งานธุรการ  มอบหมายให้  นางสาวรุ้งราตรี  สีหะวงษ์  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เลขที่ตำแหน่ง (55-3-04-4101-001) ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง  โดยมี นางสาวศศิกานต์  สมบูรณ์  พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ เป็นผู้ช่วย มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ บันทึกข้อมูล หรือบริหารทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้ 
          ๑. ด้านการปฏิบัติการ 
          ๑.๑ ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป ได้แก่ การรับ – ส่งหนังสือ การลงทะเบียน        รับหนังสือ การร่างโต้ตอบหนังสือราชการ การบันทึกข้อมูล การจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน และการพิมพ์เอกสาร จดหมาย และหนังสือราชการต่างๆ การเตรียมการประชุม เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้งาน ต่าง ๆ ดำเนินไป     ด้วยความสะดวกเรียบร้อยตรงตามเป้าหมายมีหลักฐานตรวจสอบได้ 

๑.๒ จัดเก็บเอกสาร หนังสือราชการ หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อ สะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ 

          ๑.๓ รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เช่น สมุดลงเวลาปฏิบัติราชการ รายชื่อ พนักงาน ข้อมูลจำนวนบุคลากร เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นหลักฐานตามระเบียบวิธีการปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการ ค้นหาสำหรับใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบได้
          ๑.๔ ตรวจสอบ และสอบทานความถูกต้องของเอกสาร หนังสือ และจดหมายต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อให้แน่ใจว่าเอกสารทั้งหมดมีความถูกต้อง ครบถ้วน และปราศจากข้อผิดพลาด
          ๑.๕ จัดทำและแจกจ่าย ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน หนังสือเวียน หรือระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับทราบ หรือดำเนินการต่างๆ ต่อไป 
          ๑.๖ ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ยานพาหนะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ การจัดทำทะเบียนพัสดุครุภัณฑ์ การดูแลรักษายานพาหนะ และสถานที่ เพื่อให้การดำเนินงานด้านพัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และมี ความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 
          ๑.๗ การรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่น เอกสารตรวจรับรองมาตรฐาน (ธรรมาภิบาล) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน

          ๑.๘ จัดเตรียมการประชุม บันทึกการประชุม และจัดทำรายงานการประชุมเพื่อให้การ ประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีหลักฐานในการประชุม
          ๑.๙ จัดเตรียม และดำเนินการผลิตเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม การ ฝึกอบรมสัมมนา นิทรรศการ และโครงการต่างๆ เพื่อให้เอกสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และพร้อมใช้ในการ ดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อเวลา 
          ๑.๑๐ ปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จัดเตรียมเอกสารเพื่อเปิดเผย ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารรับทราบข้อมูลข่าวสาร
          ๑.๑๑ อำนวยความสะดวก ติดต่อ และประสานงานกับทุกส่วนงานของหน่วยงาน ในเรื่องการประชุม และการดำเนินงานต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม กำหนดเวลา และบรรลุวัตถุประสงค์
          ๑.๑๒ ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ    งานสารบรรณ งานธุรการ งานบริหารทั่วไป งานการบริหารงานบุคคล งานพัสดุครุภัณฑ์ งานงบประมาณ        งานประชาสัมพันธ์ และงานประชุม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด 

1.13 ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
          ๒. ด้านการบริการ 
          ๒.๑ ให้คำปรึกษาและแนะนำในเบื้องต้นแก่บุคลากร ประชาชน ผู้ที่มาติดต่อ และ หน่วยงานต่างๆ      ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 
          ๒.๒ ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น 
          ๒.๓ ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต่อไป

          2.4 ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และ ปฏิบัติหน้าที่อื่น   ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย    

                                                                                                         

             2. งานการเงินและบัญชี

          มอบหมายให้ นางสาวสุดาวรรณ  เนื้อทอง ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน เลขที่ตำแหน่ง  (55-3-04-4201-001) และมี นางสาวนิชนันท์ หมื่นกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เป็นผู้ช่วย ปฏิบัติการในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยต้องกำกับแนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์และความชำนาญงานด้านการเงินและบัญชี ปฏิบัติงานที่ถูก ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างยากและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือ ปฏิบัติการในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ซึ่งไม่จำเป็น ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์และความชำนาญงานด้านการเงินและบัญชีปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างยากและปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

   2.1 งานการเงิน

   (1) รายงานการรับจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป/อุดหนุนเฉพาะกิจ/เงินถ่ายโอน/เลือกตามแบบ จ.ส.02 ภายในกำหนดเวลาจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน

   (2)รายงานงบการเงินต่างๆ งานควบคุมภายใน งานประกวดราคาระบบอิเล็กทรอนิกส์

   (3) รายงานการใช้จ่ายเงินเศรษฐกิจชุมชนภายในเดือนตุลาคมของทุกปี

   (4) รายงานเงินสะสมทุก 6 เดือน (งวดตุลาคมถึงมีนาคม รายงานภายในเดือนเมษายน) (งวดเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน รายงานภายในเดือนตุลาคมของทุกปี)

   (5) รายงานการสอบทานการปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชีทุก 3 เดือน ภายในเดือน (มกราคม, เมษายน, กรกฎาคม, ตุลาคม)

   (6) งานส่งเอกสารใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปี

   (7) ด้านการปฏิบัติงาน

          7.๑ ปฏิบัติงานตรวจสอบและควบคุมเอกสารทางการเงินและบัญชีที่ต้องใช้ความชำนาญ    เพื่อช่วยให้ระบบงานเป็นไปตามอย่างสะดวกและถูกต้อง

                    7.๒ ปฏิบัติงานวางแผนประเมินผลงานด้านการเงินและบัญชีเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ      ตรงตามวัตถุประสงค์

                    7.๓ จัดทำเอกสารและรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านบัญชีการเงินและงบประมาณ          ของหน่วยงานเช่น รายงานทางบัญชีรายงานงบการเงิน รายงานการเบิกจ่าย และรายงานสรุปเกี่ยวกับการ     ตั้งงบประมาณรายจ่ายของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้เอกสารและรายงานที่มีความถูกต้องและครบถ้วนในการนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาให้พิจารณาต่อไปนี้

                    7.๔ จัดทำทะเบียนควบคุมต่างๆทะเบียนควบคุมการจ่ายเงินทั่วไปทะเบียนควบคุมการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงานและสอดคล้องตามกฎระเบียบ      ที่ได้กำหนด ไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

                    7.๕ พิจารณาแต่งตั้งงบประมาณ หมวดที่ไม่มีปัญหาเช่นค่าเช่าบ้านค่าล่วงเวลาค่าใช้สอย   ค่าวัสดุเป็นต้น เพื่อให้การตั้งงบประมาณเป็นไป อย่างถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้และแล้วเสร็จตามเวลา

                    7.๖ ควบคุมและดูแลการดำเนินการรับ จ่ายเงินตามหลักการรับจ่ายเงินเพื่อให้การดำเนินงานด้านการรับจ่ายเงินเป็นไปอย่างสะดวกถูกต้องและครบถ้วน

                    7.๗ ควบคุมและดูแลการจัดเก็บข้อมูลสถิติเอกสารใบสำคัญและรายงานทางการเงินและบัญชีต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สะดวกและง่ายในการค้นหาและเป็นหลักฐานสำคัญในการอ้างอิงการดำเนินงานต่างๆทางการเงินและบัญชี

                    7.๘ ศึกษาวิเคราะห์และเสนอข้อความคิดเห็น เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติด้านการเงินเพื่อใช้    เป็นหลักฐานข้อมูลการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน

                    7.๙ ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาเช่นให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานวางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรมจัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้องเป็นต้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานข้อและข้อกำหนด

                    7.10 นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายโดยผ่านระบบ Internet

                    7.11 จัดทำหนังสือรายงานภาษี หัก ณ ที่จ่ายประจำปี

                    7.12 จัดทำรายงานจัดทำเช็ค ลงรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน ติดตามประสานให้ผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็คมารับ ต้องไม่เกิน 15 วัน หลังจากผู้มีอำนาจลงนามในเช็คแล้ว โดยลงข้อมูลในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ ระบบe-laas.go.th

          7.13  จัดทำเอกสารผู้รับเข้า – ลาออกจากสำนักงานประกันสังคม พร้อมกรอกข้อมูลลงในโปรแกรม ISO เพื่อส่งข้อมูลและเงินประกันสังคม

                   7.14. นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายโดยจ่ายผ่านระบบ Internet

                             7.15. ทะเบียนคุมเงินยืม

                             7.16. หนังสือรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปีงบประมาณ

(8) ด้านการกำกับดูแล

          8.๑ ควบคุม กำกับดูแล ตรวจสอบ การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีเพื่อให้การดำเนินงาน       ของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

           8.2 วางแผนประเมินผลและแก้ไข ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชีในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 (9) ด้านการบริการ

          9.๑ ให้คำแนะนำตอบปัญหาชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่มีความซับซ้อนแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาหน่วยงานราชการเอกชนหรือประชาชนทั่วไปเพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้สนใจ

          9.๒ ประสานงานรัฐในระดับกองหรือหน่วยงานที่สูงกว่ากับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชน

ทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชีและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ      ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

             2.2 งานการบัญชี

               (1) นำใบรับส่งเงินงานการเงินมาลงบัญชีเงินสดและทะเบียนเงินรายรับ

     (2) ตรวจสอบเงินภาษีจัดสรรที่งานการเงินได้รับมาจากสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ นำมาลงบัญชีในระบบ (กรณีออกใบเสร็จรับเงิน) นำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป(กรณีรับโอนต่างๆ) แล้วนำมาลงทะเบียนเงินรายรับ

     (3) การจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันทุกวันที่มีการรับจ่ายเงินและเสนอให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและผู้บริหารทราบทุกวัน

      (4) รายงานการรับเงินจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป/อุดหนุนเฉพาะกิจ/เงินถ่ายโอน/เลือกทำตามแบบ/จ.ส. 02ภายในกำหนดเวลา จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน

      (5) การจัดทำทะเบียนคุมต่างๆ ในระบบได้แก่

           5.1 ทะเบียนคุมเงินรายรับตรวจสอบกับเงินสดรับและเงินฝากธนาคารให้ถูกต้องตรงกัน

           5.2 ทะเบียนคุมเงินรายจ่ายตามงบประมาณตรวจสอบกับบัญชีเงินสดจ่ายและ Statment       ของธนาคารรวมทั้งสมุดจ่ายเช็คให้ถูกต้องตรงกัน

            5.3 ทะเบียนคุมเงินสะสมจัดทำมาตรวจสอบกับเงินสดรับและสำเนาใบเสร็จรับเงิน        ให้ถูกต้อง

            5.4 ทะเบียนคุมเงินสะสมจัดทำมาตรวจสอบกับเงินสดจ่ายและบัญชีแยกประเภทให้ถูกต้อง

            5.5 จัดทำทะเบียนคุมเงิน  และเงินนอกงบประมาณทุกประเภท ได้แก่ เงินภาษีหัก ณ       ที่จ่ายลงรับและตัดจ่ายในระบบให้เป็นปัจจุบัน

            5.6จัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป ทุกครั้งที่มีการรับเงินที่ไม่ได้รับเงินสดเป็นเงินโอนต่างๆ เช่นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินรับโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำใบผ่านรายการบัญชีมาตรฐาน

1,2,3 ทุกสิ้นเดือนและที่มีการปิดบัญชี

                 (6) จัดทำรายงานต่างๆ ในระบบได้แก่

                     6.1 การจัดทำรายงานประจำเดือน

                      6.2 การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงินในระบบเมื่อสิ้นปีงบประมาณได้แก่การปิดบัญชี จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานจ่ายจากเงินรายรับ  งบทรัพย์สิน  งบเงินสะสม งบหนี้สิน งบทดลองก่อนปิดบัญชีและหลังปิดบัญชี

                 (7) การจัดทำรายงานที่ต้องส่งตามกำหนดเวลา

                 (8) งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

3. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

          ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการบรรจุแต่งตั้ง/โอน (ย้าย) พนักงานส่วนตำบล ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ระดับปฏิบัติงาน/ชำนาญงาน เลขที่ตำแหน่ง (55-3-04-4204-001)  มอบหมายให้ นางสาวรุ้งราตรี  สีหะวงษ์  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เลขที่ตำแหน่ง (55-3-04-4101-001)  เป็นหัวหน้างาน     โดยมี นางกัลยาณี  พิมโคตร  พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ และนางสาวขนิษฐา  เนื้อทอง  พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เป็นผู้ช่วยและ  มีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บรายได้ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้ การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น  ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
          ๑. ด้านการปฏิบัติการ 
          ๑.๑ ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ระเบียบ เพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด 
          ๑.๒ เร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ภาษี ที่ค้างชำระ เพื่อให้สามารถ จัดเก็บได้อย่างครบถ้วน 
          ๑.๓ ตรวจสอบการรับเงิน เก็บรักษา นำส่งเงิน และออกใบเสร็จในการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ คำสั่ง
          ๑.๔ รวบรวมข้อมูล เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ และเก็บรักษาหลักฐาน เพื่อเป็นข้อมูล และรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามกำหนดระยะเวลา

          ๑.๕ จัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ สถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท รวมถึง จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามระบบงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลมีความ ถูกต้องและสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น 

          ๑.๖ ดำเนินการรับเงินหรือควบคุมการรับเงินโดยใกล้ชิด ควบคุมหรือจัดทำทะเบียนต่างๆ จัดเก็บรักษาหรือค้นหาเอกสารหลักฐานและเรื่องของผู้เสียภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น เพื่อรวบรวมไว้    เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน 
          ๑.๗ สอดส่องตรวจตรา เร่งรัดภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่างๆ และรายได้อื่นค้างชำระ ควบคุมหรือดำเนินงานเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานและปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้อง 
          ๑.๘ ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน        ของหน่วยงาน

1.9  นำเข้าข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินในระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน LTAX 3000 และ LTAX Online ให้เป็นปัจจุบัน
          ๒. ด้านการบริการ 
          ๒.๑ ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการจัดเก็บรายได้ แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ 
          ๒.๒ ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการจัดเก็บรายได้ และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็น ประโยชน์    ต่อการทำงานของหน่วยงาน

4.งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

มอบหมายให้ นางสาวอรทัย  มะณู  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุชำนาญงาน เลขที่ตำแหน่ง (55-3-04-4103-001) โดยมี นางสาวสุวันนา  นามโคตร ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ เป็นผู้ช่วย ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

           ๑. ด้านการปฏิบัติการ 
          ๑.๑ ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน 
          ๑.๒ ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ         เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน

1.3 จัดทำฐานข้อมูลทรัพย์สินในระบบ

1.4 จัดทำงบทรัพย์สินในระบบ

1.5 บันทึกการจำหน่ายทรัพย์สินในระบบ

1.6 จัดซื้อจัดจ้างบนระบบ E-GP และระบบ E-LASS 
          ๑.7 ร่างและตรวจสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงาน พัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน 

๑.8 รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอ ผู้บังคับบัญชา         ในหน่วยงาน     

          ๑.9 ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบ การปฏิบัติงาน     มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
          ๑.10 ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ 
          ๑.11 จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน ประจำไตรมาส หรือประจำปีงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินให้ผู้บังคับบัญชา ทราบหลังการดำเนินแล้วเสร็จ
          ๑.12 ศึกษาและติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับ    งานพัสดุ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 
          ๒. ด้านการบริการ 
          ๒.๑ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง 
          ๒.๒ ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ

รอขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ  

           ให้ผู้ได้รับคำสั่งดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย ตามคำสั่งโดยเคร่งครัด หากมีข้อขัดข้องหรืออุปสรรคในการทำงานให้แจ้งให้ผู้อำนวยการกองคลังทราบในเบื้องต้น และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป

ทราบต่อไป

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 – 30 กันยายน 2568

                                      สั่ง ณ วันที่  18  เดือน  กันยายน พ.ศ. ๒๕๖7

                                                     (ลงชื่อ)               

                                                              (นายนิรักษ์  สีหะวงษ์)

                                                 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนคูณ